ชื่อสามัญ Jackfruit Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ Artocarpus heterophyllus Lam.
ชื่ออื่น ๆ มะหนุน หมักหมี๊ หมากลาง
วงศ์ MORACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Artocarpus heterophyllus Lam.
ชื่ออื่น ๆ มะหนุน หมักหมี๊ หมากลาง
วงศ์ MORACEAE
ขนุนเป็นไม้ผลที่คนไทยทั่วไปรู้จัก นอกจากจะนิยมใช้บริโภคเป็นผลไม้สด ผลอ่อนใช้บริโภคแบบผัก เช่น ใช้แกง สามรถแปรรูปผลิตภัณฑ์ชนิดต่างๆได้ เช่น ขนุนอบแห้ง ขนุนในน้ำเชื่อม บรรจุกระป๋อง ขนุนยังสามารถส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศได้
ลักษณะทั่วไป
ลักษณะทั่วไป
ขนุนเป็นไม้ผลยืนต้นขนาดใหญ่ สามารถเจริญเติบโตได้ในทุกสภาพพื้นที่ของประเทศไทย สภาพของดินที่ใช้ปลูกที่เหมาะสมควรมี PH อยู่ระหว่าง 5.5-7.5 ดินควรเป็นดินร่วน หรือร่วนปนทราย มีการระบายน้ำดี อายุการให้ผลจะเริ่มให้ผลเมื่ออายุประมาณ 4 ปี สามารถให้ผลต่อไปได้อย่างต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 25 ปี อายุตั้งแต่เริ่มออกดอกถึงดอกบาน 20-25 วัน หลังดอกบานผลจะแก่เมื่ออายุ 120-150 วัน ผลผลิตเฉลี่ยต่อต้นเมื่ออายุประมาณ 10 ปี อยู่ระหว่าง 25-30 ผล น้ำหนักต่อผลมีตั้งแต่ 5-50 กิโลกรัม ฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลผลิต ถ้าเป็นขนุนในฤดูจะเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่เดือน มกราคม-พฤษภาคม และถ้าเป็นขนุนนอกฤดูจะเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่เดือนมิถุนายน-ตุลาคม
แหล่งผลิตที่สำคัญ
ชลบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี สงขลา กาญจนบุรี เพชรบุรี และนครราชสีมา
พื้นที่ปลูก ปี 2540 (ประมาณ)
พื้นที่รวมทั้งประเทศ 251,978 ไร่
พื้นที่ให้ผลผลิตแล้ว 165,445 ไร่
พื้นที่ยังไม่ให้ผลผลิต 86,533 ไร่
พื้นที่รวมทั้งประเทศ 251,978 ไร่
พื้นที่ให้ผลผลิตแล้ว 165,445 ไร่
พื้นที่ยังไม่ให้ผลผลิต 86,533 ไร่
พันธุ์ส่งเสริม
ทองสุดใจ จำปากรอบ ทองประเสริฐ เหรียญทอง และเหลืองพิชัย
ทองสุดใจ จำปากรอบ ทองประเสริฐ เหรียญทอง และเหลืองพิชัย
การปลูกเเละการดูเเลรักษา
วิธีการปลูก
1 . ใช้ต้นพันธุ์ที่ได้จากการทาบกิ่ง ติดตา หรือเสียบยอด
2. ควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝน
3. ควรขุดหลุมปลูกให้มีขนาดกว้างและลึกประมาณ 50 ซม.
4. ผสมดินด้วยปุ๋ยคอกจำนวน 5 กิโลกรัม และปุ๋ยร็อคฟอสเฟตจำนวน 500 กรัม เข้าด้วยกันในหลุมให้สูง ประมาณ 2 ใน 3 ของหลุม
5. ยกถุงต้นพันธุ์วางในหลุมโดยให้ระดับของดินในถุงสูงกว่าระดับดินปากหลุมเล็กน้อย
6. ใช้มีดที่คมกรีดถุงจากก้นถุงขึ้นมาถึงปลายถุงทั้ง 2 ด้าน (ซ้ายและขวา)
7. ดึงถุงพลาสติกออกโดยระวังอย่าให้ดินแตก
8. กลบดินที่เหลือลงในหลุม อย่ากลบดินให้สูงถึงรอยเสียบยอดหรือรอยทาบ
9. กดดินบริเวณโคนต้นให้แน่น
10. ปักไม้หลักและผูกเชือกยึดกันลมพัดโยก
11. หาวัสดุคลุมดินบริเวณโคนต้น เช่น ฟางข้าว หญ้าแห้ง
12. รดน้ำให้ชุ่ม
13. ทำร่มเงา เพื่อช่วยพรางแสงแดด
14. แกะผ้าพลาสติกที่พันรอยเสียบยอด หรือรอยทาบ เมื่อปลูกไปแล้วประมาณ ครึ่งเดือน
2. ควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝน
3. ควรขุดหลุมปลูกให้มีขนาดกว้างและลึกประมาณ 50 ซม.
4. ผสมดินด้วยปุ๋ยคอกจำนวน 5 กิโลกรัม และปุ๋ยร็อคฟอสเฟตจำนวน 500 กรัม เข้าด้วยกันในหลุมให้สูง ประมาณ 2 ใน 3 ของหลุม
5. ยกถุงต้นพันธุ์วางในหลุมโดยให้ระดับของดินในถุงสูงกว่าระดับดินปากหลุมเล็กน้อย
6. ใช้มีดที่คมกรีดถุงจากก้นถุงขึ้นมาถึงปลายถุงทั้ง 2 ด้าน (ซ้ายและขวา)
7. ดึงถุงพลาสติกออกโดยระวังอย่าให้ดินแตก
8. กลบดินที่เหลือลงในหลุม อย่ากลบดินให้สูงถึงรอยเสียบยอดหรือรอยทาบ
9. กดดินบริเวณโคนต้นให้แน่น
10. ปักไม้หลักและผูกเชือกยึดกันลมพัดโยก
11. หาวัสดุคลุมดินบริเวณโคนต้น เช่น ฟางข้าว หญ้าแห้ง
12. รดน้ำให้ชุ่ม
13. ทำร่มเงา เพื่อช่วยพรางแสงแดด
14. แกะผ้าพลาสติกที่พันรอยเสียบยอด หรือรอยทาบ เมื่อปลูกไปแล้วประมาณ ครึ่งเดือน
ระยะปลูก
8 x 8 เมตร
จำนวนต้น/ไร่
ประมาณ 25 ต้น / ไร่
การดูแลรักษา
การให้ปุ๋ย
ควรพรวนดินรอบบริเวณรัศมีทรงพุ่ม การใส่ปุ๋ยควรใส่ปุ๋ยเคมีพร้อมกับปุ๋ยอินทรีย์ ต้นที่ให้ผลผลิตแล้ว แบ่งการใส่ปุ๋ย ดังนี้
1. บำรุงต้น ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16
2. สร้างตาดอก ใช้ปุ๋ยสูตร 12-24-12 หรือ 9-24-24
3. บำรุงผล ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16
4. ปรับปรุงคุณภาพ ใช้ปุ๋ยสูตร 13-13-21 ส่วนปริมาณการใช้ปุ๋ยประมาณ 1 - 2 กิโลกรัม / ต้น / ครั้ง สำหรับต้นขนุนที่มีอายุประมาณ 8 ปี และเพิ่มปริมาณมากขึ้นตามอายุ และขนาดทรงพุ่ม
1. บำรุงต้น ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16
2. สร้างตาดอก ใช้ปุ๋ยสูตร 12-24-12 หรือ 9-24-24
3. บำรุงผล ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16
4. ปรับปรุงคุณภาพ ใช้ปุ๋ยสูตร 13-13-21 ส่วนปริมาณการใช้ปุ๋ยประมาณ 1 - 2 กิโลกรัม / ต้น / ครั้ง สำหรับต้นขนุนที่มีอายุประมาณ 8 ปี และเพิ่มปริมาณมากขึ้นตามอายุ และขนาดทรงพุ่ม
การให้น้ำ
หลังการปลูกถ้าฝนไม่ตกควรรดน้ำทุกวัน หลังจากนั้นถ้าฝนไม่ตกอีกควรรดน้ำประมาณ 3-4 วัน/ครั้ง จนเห็นว่าตั้งตัวดีจึงเว้นการรดน้ำให้ห่างออกไป ในฤดูแล้งนั้นควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ
การปฏิบัติอื่นๆ
หลังจากปลูกไปแล้วเมื่อต้นมีการเจริญเติบโตสูงประมาณ 70 ซม. ควรตัดยอด หรือเด็ดยอดเพื่อให้แตกกิ่งแขนงข้าง แล้วเลือกกิ่งแขนงไว้ประมาณ 3-4 กิ่ง โดยเลือกกิ่งที่สมบูรณ์ ทำมุมกว้างกับลำต้น ในปีที่ 2-3 ปล่อยให้กิ่งแขนงที่เลือกไว้เจริญเต็มที่ แต่ถ้ามีกิ่งแขนงย่อยแตกจากกิ่งแขนงใหญ่แน่นเกินไป ให้ตัดกิ่งแขนงย่อยออกบ้าง นอกจากนี้ให้ตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรค กิ่งที่ฉีกขาดและแห้ง กิ่งกระโดงออก โดยเฉพาะหลังเก็บเกี่ยวแล้ว
การป้องกันกำจัดศัตรูพืช
- ใบ เพลี้ยแป้งและเพลี้ยหอม ป้องกันโดยใช้สารอโซดริน มาลาไธออน
- ดอก โรคราดำ ป้องกันโดยใช้สารเบโนมิลหรือกำมะหยี่ผงชนิดละลายน้ำ
- ผล แมลงวันผลไม้ ป้องกันโดยการห่อผลหรือใช้สารไดเมทโธเอทหรือโมโนโครโตฟอส
- ด้วงเจาะลำต้น ป้องกันโดยใช้สำลีจุ่มสารเคมีฆ่าแมลงชนิดดูดซึมอุดเข้าไปในรูที่ถูกทำลายแล้วปิดรูด้วยดินน้ำมันหรือดินเหนียว นอกจากนี้ ควรดูแลรักษาความสะอาดของชาวสวน และควรตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรคอยู่เสมอ เป็นการป้องกันการเข้าทำลายของศัตรูต่างๆได้เป็นอย่างดี โดยไม่จำเป็นต้องใช้ยาปราบศัตรูพืช
- ดอก โรคราดำ ป้องกันโดยใช้สารเบโนมิลหรือกำมะหยี่ผงชนิดละลายน้ำ
- ผล แมลงวันผลไม้ ป้องกันโดยการห่อผลหรือใช้สารไดเมทโธเอทหรือโมโนโครโตฟอส
- ด้วงเจาะลำต้น ป้องกันโดยใช้สำลีจุ่มสารเคมีฆ่าแมลงชนิดดูดซึมอุดเข้าไปในรูที่ถูกทำลายแล้วปิดรูด้วยดินน้ำมันหรือดินเหนียว นอกจากนี้ ควรดูแลรักษาความสะอาดของชาวสวน และควรตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรคอยู่เสมอ เป็นการป้องกันการเข้าทำลายของศัตรูต่างๆได้เป็นอย่างดี โดยไม่จำเป็นต้องใช้ยาปราบศัตรูพืช
ปฏิทินการดูแลรักษา
ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค.
-ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรค -ให้ปุ๋ยสูตร13-13-21 - เก็บเกี่ยวผลผลิต -ให้ปุ๋ยคอกและ -ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรค -ให้ปุ๋ยสูตร -งดการให้น้ำ -เริ่มออกผล-ฉีดพ่นสาร
แมลง-ให้น้ำสม่ำเสมอ-ให้ปุ๋ยสูตร ปุ๋ยเคมีสูตร15-15-15 แมลงระยะแตกใบอ่อน 8 - 24 - 24 -กำจัดวัชพืช เคมีป้องกันกำจัดโรคแมลง
-ห่อผล
การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว
1. ดัชนีการเก็บเกี่ยว อาจนับจากหลังดอกบานประมาณ 120-150 วัน และมีวิธีสังเกตได้ ดังนี้
- สังเกตจากตาหนามของผลที่ขยายห่าง
- ผลขนุนที่สุกจะมีสีผิวเหลืองเข้มมากขึ้น
- ใช้การทดสอบโดยเอามีดกรีดบริเวณขั้วของผล ถ้าผลแก่จะมียางไหลออกมาน้อย และมีลักษณะถ้ายางไหลออกมามากเป็นสีขาวแสดงว่ายังไม่แก่
- ใช้การนับอายุของผล ตั้งแต่ดอกเริ่มผสมติด จนผลแก่ประมาณ 120-150 วัน
- ผลขนุนที่สุกจะมีสีผิวเหลืองเข้มมากขึ้น
- ใช้การทดสอบโดยเอามีดกรีดบริเวณขั้วของผล ถ้าผลแก่จะมียางไหลออกมาน้อย และมีลักษณะถ้ายางไหลออกมามากเป็นสีขาวแสดงว่ายังไม่แก่
- ใช้การนับอายุของผล ตั้งแต่ดอกเริ่มผสมติด จนผลแก่ประมาณ 120-150 วัน
2. การเก็บเกี่ยว สามารถเก็บโดยใช้เชือกไนล่อนขนาด 0.2 นิ้วขมวดเป็นปม เพื่อใช้เป็นตัวดึงส่วนปลายอีกด้านหนึ่งรัดกับส่วนขั้วของผลขนุนให้แน่น ใช้กรรไกรตัดขั้วผลแล้วค่อยๆหย่อนลงมา
อื่นๆ
แนวทางการส่งเสริม
แนวทางการส่งเสริม
1. ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกขนุนสายพันธุ์ดีที่ตลาดเป็นที่ต้องการสูง
2. ส่งเสริมการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตที่ถูกต้องให้ทั่งถึง
3. สนับสนุนให้มีการแปรรูปขนุนให้เป็นผลิตภัณฑ์ชนิดต่างๆมากยิ่งขึ้น
4. สนับสนุนการรวมกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกขนุน
2. ส่งเสริมการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตที่ถูกต้องให้ทั่งถึง
3. สนับสนุนให้มีการแปรรูปขนุนให้เป็นผลิตภัณฑ์ชนิดต่างๆมากยิ่งขึ้น
4. สนับสนุนการรวมกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกขนุน
ปัญหาอุปสรรค
1. ขนุนพันธุ์ดียังมีราคาแพง
2. เทคโนโลยีการผลิตที่ถูกต้องยังกระจายไม่ทั่วถึง
3. การแปรรูปยังมีน้อย
4. ไม่มีการรวมกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกขนุน
2. เทคโนโลยีการผลิตที่ถูกต้องยังกระจายไม่ทั่วถึง
3. การแปรรูปยังมีน้อย
4. ไม่มีการรวมกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกขนุน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น