คติความเชื่อคนโบราณนิยมปลูกไผ่สีสุกไว้ทางทิศตะวันออก (บูรพา) ถือกันเป็นเคล็ดจากชื่อที่เรียกขานเอาว่าเป็นสิริมงคลแก่ตนผู้เป็นเจ้าของและครอบครัวคือ “สีสุก” เป็นมงคลนามเพื่อให้เกิดความสุข ความเจริญ อยู่เย็นเป็นสุข สุขภายสบายใจในทุกสิ่งทุกอย่างนั้นเอง
ไผ่สีสุกนอกจากจะเป็นต้นไม้ตามทิศแล้วยังเป็นหนึ่งในไม้มงคลจำนวน 9 ชนิดที่จะต้องหาไว้เพื่อความเป็นสิริมงคลในการก่อสร้างอาคาร ประดิษฐาน ถาวรวัตถุและใช้ในพิธีก่อฤกษ์ หรือวางศิลาฤกษ์ ซึ่งมักเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญต่อชาติและบ้านเมือง เช่น โบสถ์ วิหาร กระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ
แม้ไผ่สีสุกจะเป็นไม้มงคล แต่ในบางท้องถิ่นเชื่อว่าการปลูกไผ่จะต้องให้คนแก่หรือผู้สูงอายุถึงจะดี คนหนุ่มสาวห้ามปลูกเพราะถือว่าลำต้นไผ่ใช้เป็นคานสำหรับหามโลงใส่ผีไปเผาหรือฝังลงป่าช้า เขาถือว่าหากคนอ่อนอายุปลูกอายุจะสั้นด้วยพอไม้ไผ่โตได้ขนาดจะเป็นเหตุให้คนปลูกตาย และไม้ไผ่นั้นจะถูกตัดมาเป็นไม้หามโลงของคนปลูกพอดี ส่วนคนแก่ปลูก พอไผ่โตได้ขนาดก็อาจจะหมดอายุเองเสียก่อนจึงไม่ให้โทษ นอกจากนี้ยังมีความเชื่อกันอีกว่า เมื่อไผ่ออกดอกจะเป็นลางร้ายเพราะธรรมชาติของไผ่ไม่ค่อยมีใครเห็นดอกของมันเมื่อมีดอก เมื่อดอกแห้งแล้วต้นจะตายเรียกว่า “ไผ่ตายขุย” จึงถือว่าไผ่ออกดอกที่บ้านใครมักจะเกิดผลร้ายกับครอบครัวนั้น ต้องทำบุญบ้านเพื่อถอนโชคร้ายเสีย ปัจจุบันในชนบทยังถือกันอยู่
ไผ่ยังเป็นสัญลักษณ์ของความซื่อสัตย์ เกียรติยศ และความเสียสละแรงบันดาลใจของศิลปินคงไม่มีไม้ใดที่ได้รับใช้มนุษย์มากมายเท่าไผ่ ไผ่มีความแข็งพอที่จะเป็นเสาบ้านได้ ขณะเดียวกันก็มีความอ่อนพอที่จะดัด สาน มัด ให้เป็นอะไรก็ได้ตามใจมนุษย์
ชื่อพื้นเมืองไผ่สีสุก
ชื่อวิทยาศาสตร์Bambusa blumeana Schult.
วงศ์GRAMINEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ไผ่สีสุกเป็นไม้ยืนต้นเป็นกอหนาแน่น มีลำสูงใหญ่ มีความสูงประมาณ 20-25 ซม. เนื้อหนาประมาณ 7 ม.ม (บางกว่าไผ่ป่า) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางลำ 7-10 ซม. ปล้องยาวประมาณ 30 ซม. จำนวนปล้องประมาณ 50 ปล้อง บริเวณข้อมีกิ่งคล้ายหนาม กิ่งและแขนงมีหนามแหลมคม ลักษณะลำต้นกลวง ส่วนโคนจะมีความหนา 1.5 ซม. ลำต้นมีสีเขียวสด ผิวเป็นมัน ดอกออกเป็นช่อ (ซึ่งส่วนมาก ไผ่อายุราว 30 ปี จึงจะมีดอกสักหนหนึ่ง) หน่อมีขนาดใหญ่ มีกาบสีเหลืองห่อหุ้ม ขนที่หน่อเป็นสีน้ำตาลมีน้ำหนักประมาณ 2-5 ก.ก
การปลูกไผ่สีสุกมีขึ้นเองตามป่าราบและบนเขาสูงๆ แพร่พันธุ์ด้วยหน่อซึ่งจะแทงออกมาจากโคนต้น
ประโยชน์ทางยา
ส่วนที่ใช้เป็นยา ตา ราก หน่อไม้ตาเต่า (เป็นหน่อไม้ที่เกิดจากตาไม้ไผ่)
รสและสรรพคุณในตำรายาไทย1. ใบ รสขื่น เฝื่อน ขับและฟอกล้างโลหิตระดูที่เสีย ขับระดูขาว แก้มดลูกอักเสบ ขับปัสสาวะ
2. ตา รสเฝื่อนเข้ายาที่ใช้แก้ฝีหนองภายในต่างๆ แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ไข้พิษ ไข้กาฬ
3. ราก รสกร่อยเอียนเล็กน้อย ขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ ขับนิ่ว ใช้เข้ายาขับระดูแก้หนองใน และฝีหนองที่เกิดในร่างกาย
4. หน่อไม้ตาเต่า รสขื่นขม ติดจะร้อน แก้ตับหย่อน ตับทรุด ม้ามย้อย แก้กระษัย เลือดเป็นก้อน
ส่วนที่ใช้เป็นยา ตา ราก หน่อไม้ตาเต่า (เป็นหน่อไม้ที่เกิดจากตาไม้ไผ่)
รสและสรรพคุณในตำรายาไทย1. ใบ รสขื่น เฝื่อน ขับและฟอกล้างโลหิตระดูที่เสีย ขับระดูขาว แก้มดลูกอักเสบ ขับปัสสาวะ
2. ตา รสเฝื่อนเข้ายาที่ใช้แก้ฝีหนองภายในต่างๆ แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ไข้พิษ ไข้กาฬ
3. ราก รสกร่อยเอียนเล็กน้อย ขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ ขับนิ่ว ใช้เข้ายาขับระดูแก้หนองใน และฝีหนองที่เกิดในร่างกาย
4. หน่อไม้ตาเต่า รสขื่นขม ติดจะร้อน แก้ตับหย่อน ตับทรุด ม้ามย้อย แก้กระษัย เลือดเป็นก้อน
ขนาดและวิธีใช้1. แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ไข้พิษ ไข้กาฬ ใช้ตาไม้นำมาสุมไฟให้เป็นถ่านรับประทาน
2. ขับปัสสาวะ ใช้ยอดอ่อนซึ่งมีใบม้วนอยู่ 3 ยอด หรือใช้รากต้มน้ำดื่ม
2. ขับปัสสาวะ ใช้ยอดอ่อนซึ่งมีใบม้วนอยู่ 3 ยอด หรือใช้รากต้มน้ำดื่ม
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร ลูกไผ่ หน่อ
การปรุงอาหารยามกันดารชาวชนบทเก็บกวาดลูกไผ่ (ลักษณะคล้ายเมล็ดข้าวสาร) เอามาหุงรับประทานแทนข้าว และยังใช้หน่อมาต้มกับใบย่านางเพื่อลดความขื่นขม แล้วจึงนำไปประกอบอาหารตามใจชอบ อาจจะต้ม แกง ผัด หรือใช้เป็นผักจิ้มก็ย่อมได้
ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร ลูกไผ่ หน่อ
การปรุงอาหารยามกันดารชาวชนบทเก็บกวาดลูกไผ่ (ลักษณะคล้ายเมล็ดข้าวสาร) เอามาหุงรับประทานแทนข้าว และยังใช้หน่อมาต้มกับใบย่านางเพื่อลดความขื่นขม แล้วจึงนำไปประกอบอาหารตามใจชอบ อาจจะต้ม แกง ผัด หรือใช้เป็นผักจิ้มก็ย่อมได้
คุณค่าทางโภชนาการ
หน่อไม้มีโปรตีนไม่มากนักคือประมาณ 2.4 กรัมต่อ 100 กรัม มีคาร์โบไฮเดรต 4.4 กรัม แต่มีแคลเซียมสูงถึง 58 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 48 มิลลิกรัม และวิตามินซี 13 มิลลิกรัม
ประโยชน์อื่นลำต้นใช้ในการจักสาน ทำกระบอกใส่น้ำ รองน้ำตาลสด ทำตอหม้อ เผาข้าวหลาม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น