ขนุน


ชื่อสามัญ Jackfruit Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ Artocarpus heterophyllus Lam.
ชื่ออื่น ๆ มะหนุน หมักหมี๊ หมากลาง
วงศ์ MORACEAE 
ขนุนเป็นไม้ผลที่คนไทยทั่วไปรู้จัก นอกจากจะนิยมใช้บริโภคเป็นผลไม้สด ผลอ่อนใช้บริโภคแบบผัก เช่น ใช้แกง สามรถแปรรูปผลิตภัณฑ์ชนิดต่างๆได้ เช่น ขนุนอบแห้ง ขนุนในน้ำเชื่อม บรรจุกระป๋อง ขนุนยังสามารถส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศได้

ลักษณะทั่วไป


ขนุนเป็นไม้ผลยืนต้นขนาดใหญ่ สามารถเจริญเติบโตได้ในทุกสภาพพื้นที่ของประเทศไทย สภาพของดินที่ใช้ปลูกที่เหมาะสมควรมี PH อยู่ระหว่าง 5.5-7.5 ดินควรเป็นดินร่วน หรือร่วนปนทราย มีการระบายน้ำดี อายุการให้ผลจะเริ่มให้ผลเมื่ออายุประมาณ 4 ปี สามารถให้ผลต่อไปได้อย่างต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 25 ปี อายุตั้งแต่เริ่มออกดอกถึงดอกบาน 20-25 วัน หลังดอกบานผลจะแก่เมื่ออายุ 120-150 วัน ผลผลิตเฉลี่ยต่อต้นเมื่ออายุประมาณ 10 ปี อยู่ระหว่าง 25-30 ผล น้ำหนักต่อผลมีตั้งแต่ 5-50 กิโลกรัม ฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลผลิต ถ้าเป็นขนุนในฤดูจะเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่เดือน มกราคม-พฤษภาคม และถ้าเป็นขนุนนอกฤดูจะเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่เดือนมิถุนายน-ตุลาคม

แหล่งผลิตที่สำคัญ


ชลบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี สงขลา กาญจนบุรี เพชรบุรี และนครราชสีมา
พื้นที่ปลูก ปี 2540 (ประมาณ)
พื้นที่รวมทั้งประเทศ 251,978 ไร่
พื้นที่ให้ผลผลิตแล้ว 165,445 ไร่
พื้นที่ยังไม่ให้ผลผลิต 86,533 ไร่
พันธุ์ส่งเสริม
ทองสุดใจ จำปากรอบ ทองประเสริฐ เหรียญทอง และเหลืองพิชัย


การปลูกเเละการดูเเลรักษา


วิธีการปลูก
1 . ใช้ต้นพันธุ์ที่ได้จากการทาบกิ่ง ติดตา หรือเสียบยอด
2. ควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝน
3. ควรขุดหลุมปลูกให้มีขนาดกว้างและลึกประมาณ 50 ซม.
4. ผสมดินด้วยปุ๋ยคอกจำนวน 5 กิโลกรัม และปุ๋ยร็อคฟอสเฟตจำนวน 500 กรัม เข้าด้วยกันในหลุมให้สูง ประมาณ 2 ใน 3 ของหลุม
5. ยกถุงต้นพันธุ์วางในหลุมโดยให้ระดับของดินในถุงสูงกว่าระดับดินปากหลุมเล็กน้อย
6. ใช้มีดที่คมกรีดถุงจากก้นถุงขึ้นมาถึงปลายถุงทั้ง 2 ด้าน (ซ้ายและขวา)
7. ดึงถุงพลาสติกออกโดยระวังอย่าให้ดินแตก
8. กลบดินที่เหลือลงในหลุม อย่ากลบดินให้สูงถึงรอยเสียบยอดหรือรอยทาบ
9. กดดินบริเวณโคนต้นให้แน่น
10. ปักไม้หลักและผูกเชือกยึดกันลมพัดโยก
11. หาวัสดุคลุมดินบริเวณโคนต้น เช่น ฟางข้าว หญ้าแห้ง
12. รดน้ำให้ชุ่ม
13. ทำร่มเงา เพื่อช่วยพรางแสงแดด
14. แกะผ้าพลาสติกที่พันรอยเสียบยอด หรือรอยทาบ เมื่อปลูกไปแล้วประมาณ ครึ่งเดือน
ระยะปลูก
8 x 8 เมตร
จำนวนต้น/ไร่
ประมาณ 25 ต้น / ไร่
การดูแลรักษา
การให้ปุ๋ย
ควรพรวนดินรอบบริเวณรัศมีทรงพุ่ม การใส่ปุ๋ยควรใส่ปุ๋ยเคมีพร้อมกับปุ๋ยอินทรีย์ ต้นที่ให้ผลผลิตแล้ว แบ่งการใส่ปุ๋ย ดังนี้
1. บำรุงต้น ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16
2. สร้างตาดอก ใช้ปุ๋ยสูตร 12-24-12 หรือ 9-24-24
3. บำรุงผล ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16
4. ปรับปรุงคุณภาพ ใช้ปุ๋ยสูตร 13-13-21 ส่วนปริมาณการใช้ปุ๋ยประมาณ 1 - 2 กิโลกรัม / ต้น / ครั้ง สำหรับต้นขนุนที่มีอายุประมาณ 8 ปี และเพิ่มปริมาณมากขึ้นตามอายุ และขนาดทรงพุ่ม
การให้น้ำ
หลังการปลูกถ้าฝนไม่ตกควรรดน้ำทุกวัน หลังจากนั้นถ้าฝนไม่ตกอีกควรรดน้ำประมาณ 3-4 วัน/ครั้ง จนเห็นว่าตั้งตัวดีจึงเว้นการรดน้ำให้ห่างออกไป ในฤดูแล้งนั้นควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ
การปฏิบัติอื่นๆ
หลังจากปลูกไปแล้วเมื่อต้นมีการเจริญเติบโตสูงประมาณ 70 ซม. ควรตัดยอด หรือเด็ดยอดเพื่อให้แตกกิ่งแขนงข้าง แล้วเลือกกิ่งแขนงไว้ประมาณ 3-4 กิ่ง โดยเลือกกิ่งที่สมบูรณ์ ทำมุมกว้างกับลำต้น ในปีที่ 2-3 ปล่อยให้กิ่งแขนงที่เลือกไว้เจริญเต็มที่ แต่ถ้ามีกิ่งแขนงย่อยแตกจากกิ่งแขนงใหญ่แน่นเกินไป ให้ตัดกิ่งแขนงย่อยออกบ้าง นอกจากนี้ให้ตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรค กิ่งที่ฉีกขาดและแห้ง กิ่งกระโดงออก โดยเฉพาะหลังเก็บเกี่ยวแล้ว
การป้องกันกำจัดศัตรูพืช
- ใบ เพลี้ยแป้งและเพลี้ยหอม ป้องกันโดยใช้สารอโซดริน มาลาไธออน
- ดอก โรคราดำ ป้องกันโดยใช้สารเบโนมิลหรือกำมะหยี่ผงชนิดละลายน้ำ
- ผล แมลงวันผลไม้ ป้องกันโดยการห่อผลหรือใช้สารไดเมทโธเอทหรือโมโนโครโตฟอส
- ด้วงเจาะลำต้น ป้องกันโดยใช้สำลีจุ่มสารเคมีฆ่าแมลงชนิดดูดซึมอุดเข้าไปในรูที่ถูกทำลายแล้วปิดรูด้วยดินน้ำมันหรือดินเหนียว นอกจากนี้ ควรดูแลรักษาความสะอาดของชาวสวน และควรตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรคอยู่เสมอ เป็นการป้องกันการเข้าทำลายของศัตรูต่างๆได้เป็นอย่างดี โดยไม่จำเป็นต้องใช้ยาปราบศัตรูพืช

ปฏิทินการดูแลรักษา
ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค.
-ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรค -ให้ปุ๋ยสูตร13-13-21 - เก็บเกี่ยวผลผลิต -ให้ปุ๋ยคอกและ -ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรค -ให้ปุ๋ยสูตร -งดการให้น้ำ -เริ่มออกผล-ฉีดพ่นสาร
แมลง-ให้น้ำสม่ำเสมอ-ให้ปุ๋ยสูตร ปุ๋ยเคมีสูตร15-15-15 แมลงระยะแตกใบอ่อน 8 - 24 - 24 -กำจัดวัชพืช เคมีป้องกันกำจัดโรคแมลง
-ห่อผล
การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว
1. ดัชนีการเก็บเกี่ยว อาจนับจากหลังดอกบานประมาณ 120-150 วัน และมีวิธีสังเกตได้ ดังนี้
- สังเกตจากตาหนามของผลที่ขยายห่าง
- ผลขนุนที่สุกจะมีสีผิวเหลืองเข้มมากขึ้น
- ใช้การทดสอบโดยเอามีดกรีดบริเวณขั้วของผล ถ้าผลแก่จะมียางไหลออกมาน้อย และมีลักษณะถ้ายางไหลออกมามากเป็นสีขาวแสดงว่ายังไม่แก่
- ใช้การนับอายุของผล ตั้งแต่ดอกเริ่มผสมติด จนผลแก่ประมาณ 120-150 วัน
2. การเก็บเกี่ยว สามารถเก็บโดยใช้เชือกไนล่อนขนาด 0.2 นิ้วขมวดเป็นปม เพื่อใช้เป็นตัวดึงส่วนปลายอีกด้านหนึ่งรัดกับส่วนขั้วของผลขนุนให้แน่น ใช้กรรไกรตัดขั้วผลแล้วค่อยๆหย่อนลงมา
อื่นๆ

แนวทางการส่งเสริม
1. ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกขนุนสายพันธุ์ดีที่ตลาดเป็นที่ต้องการสูง
2. ส่งเสริมการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตที่ถูกต้องให้ทั่งถึง
3. สนับสนุนให้มีการแปรรูปขนุนให้เป็นผลิตภัณฑ์ชนิดต่างๆมากยิ่งขึ้น
4. สนับสนุนการรวมกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกขนุน
ปัญหาอุปสรรค
1. ขนุนพันธุ์ดียังมีราคาแพง
2. เทคโนโลยีการผลิตที่ถูกต้องยังกระจายไม่ทั่วถึง
3. การแปรรูปยังมีน้อย
4. ไม่มีการรวมกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกขนุน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น